ความเป็นมาของโครงการ
ปี พ.ศ. 2541 : กำนันผู้ใหญ่บ้านและราษฎร ตำบลบ้านหวด ตำบลปงเตา ตำบลบ้านร้อง ตำบลหลวงเหนือ
ตำบลหลวงใต้ ตำบลนาแก และตำบลแม่ตีบ ได้มีหนังสือถึงราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ
ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ทางราชการพิจารณาโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตีบ
เนื่องจากราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งทำให้ผลผลิตตกต่ำ
ปี พ.ศ. 2545 : สำนักบริหารโครงการ (สำนักแผนงานและโครงการ (เดิม)) โดยกลุ่มงานวางโครงการ 4
ได้ศึกษาและจัดทำรายงาน การศึกษาเบื้องต้น ต่อมาสำนักบริหารโครงการได้มอบหมายให้ดำเนินการศึกษาวางโครงการ
แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2553 : สำนักบริหารโครงการได้ดำเนินการสำรวจ-ออกแบบ และจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)
แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553
ปี พ.ศ. 2554 : คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง การทบทวนการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) โดยระบุว่า “โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำที่มีพื้นที่
โครงการอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป” ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ปี พ.ศ. 2557 : วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนงาน/โครงการตามที่คณะกรรมการกำหนดนโยบายฯ
เสนอโดยมีโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตีบ จังหวัดลำปาง เป็นหนึ่งในโครงการในระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
และในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ราษฎรได้ทำหนังสือถึงราชเลขาธิการขอรับพระราชทานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตีบ (วังแดง)
อีกครั้งหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2559 : กรมชลประทานมอบให้กลุ่มผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อ่างเก็บน้ำแม่ตีบ โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการไปพร้อมกัน
ปี พ.ศ. 2565 : ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2565 กรมชลประทานได้มีหนังสือเชิญผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบ
ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค (Technical Proposal) และข้อเสนอด้านราคา เพื่อรับคัดเลือกให้เป็นผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบ
โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตีบ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------